ฟันปลอม ถูกทำขึ้นมาเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป ช่วยเพิ่มความมั่นใจในรอยยิ้ม เพิ่มความสะดวกในการบดเคี้ยวอาหาร ช่วยให้การพูดออกเสียงชัดเจนได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงป้องกันปัญหาเกี่ยวกับขากรรไกร และปัญหาฟันซี่ที่เหลือล้มเอียง เคลื่อนตัวไปยังช่องว่างของเหงือกบริเวณใกล้เคียงที่สูญเสียฟัน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้
ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนากันอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้การทำฟันปลอมมีการพัฒนาคุณภาพดีขึ้น ดูเป็นธรรมชาติแนบเนียนไปกับฟันแท้
ซึ่งยากต่อการมองหรือแยกแยะความแตกต่างได้ด้วยตาเปล่า คนไข้สามารถใช้งานได้ด้วยตัวเองอย่างสะดวกในการใส่เข้าหรือถอดออก จึงทำให้การทำฟันปลอมนิยมมากขึ้น
โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินในการทำฟันปลอมขึ้น เพื่อให้มีลักษณะเฉพาะเหมาะสมสวยงามตามแต่ละบุคคลนั่นเอง
ถ้าไม่ใส่ฟันปลอม จะมีผลกระทบอะไรไหม?
กรณีที่คนไข้ สูญเสียฟันตามธรรมชาติ จากอุบัติเหตุ หรือ ได้รับการถอนฟันออกไป
เกิดเป็นช่องว่างระหว่างฟันขึ้น จะส่งผลดังนี้
- เรื่องของความสวยงาม แน่นอนว่าถ้าเป็นฟันซี่ด้านในมองเห็นได้ยาก อาจจะไม่ได้รับผลกระทบในเรื่องความสวยงามแต่หากเป็นฟันซี่หน้าจะเห็นชัดเมื่อเวลา พูดหรือยิ้ม ดังนั้นแน่นอนว่าการทำฟันปลอมจะช่วยเติมเต็มความมั่นใจให้คนไข้ได้
- ช่องว่างระหว่างฟัน อาจจะทำให้เกิดการสะสมอาหาร หากคนไข้แปรงฟันไม่ถูกวิธี จะทำให้มีปัญหาเรื่องของฟันผุ หรือ เหงือกอักเสบตามมา การทำฟันปลอมจึงสามารถช่วยเติมเต็มช่องว่างระหว่างฟัน เพื่อช่วยลดไม่ให้เศษอาหารหรือสิ่งสกปรกเข้าไปติดอยู่ตามช่องว่างนั้น ๆ ได้
- ฟันที่อยู่ข้างเคียงอาจเคลื่อนตัวหรือเอียงเข้ามาในพื้นที่ช่องว่างได้ ซึ่งจะทำให้การสบพันมีคู่ล่างบนไม่ตรงกัน อาจจะทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารลดน้อยลงตามไปด้วย
ฟันปลอมถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ
- ฟันปลอมเเบบถอดได้
- ฟันปลอมแบบติดแแน่น
1.ฟันปลอมแบบถอดได้
ฟันปลอมชนิดถอดได้ เป็นฟันปลอมที่ทำขึ้นเพื่อเติมเต็มช่องว่างฟันให้กับคนไข้ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วคนไข้จะยังมีฟันธรรมชาติหลงเหลืออยู่ ทันตแพทย์จึงสามารถเลือกใส่เพียงบางส่วน เพื่อเติมเต็มช่องว่างของฟันให้เต็ม ฟันปลอมชนิดนี้จึงสามารถถอดออกมาล้างได้
ซึ่งฟันปลอมแบบถอดได้แบ่งออกเป็น ฟันปลอมโครงโลหะ, ฟันปลอมฐานพลาสติก
2.ฟันปลอมแบบติดแน่น
ฟันปลอมติดแน่นชนิดนี้ เป็นฟันปลอมแบบถาวรที่ยึดติดแน่นในช่องปาก โดยต้องอาศัยพื้นที่ว่างของช่องฟันที่ถูกถอนออกไป ประกอบกับบริเวณข้างเคียงยังมีฟันธรรมชาติของคนไข้เหลืออยู่ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ฟันธรรมชาตินี้เป็นตัวยึดหลัก เป็นการทำครอบฟันที่เป็นฟันปลอมยึดกับฟันธรรมชาติ ฟันปลอมชนิดนี้คนไข้ไม่สามารถถอดออกมาเพื่อทำความสะอาดภายนอกช่องปากได้
ซึ่งฟันปลอมแบบติดแน่นแบ่งออกเป็น ฟันปลอมติดแน่นด้วยสะพานฟัน และฟันปลอมติดแน่นด้วยรากเทียม
เลือกทำฟันปลอมแบบไหนดี ?
การเลือกทำฟันปลอมให้เหมาะกับคุณ ทันตแพทย์จะเป็นผู้แนะนำ และเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับปัญหาที่คนไข้ประสบอยู่ หรือ เหมาะสมการใช้ชีวิตของคนไข้มากที่สุด ดังนั้นคนไข้จำเป็นต้องปรึกษาทันตแพทย์เพื่อให้การทำฟันปลอมออกมาได้เหมาะสมกับคุณมากที่สุด
ขั้นตอนการทำฟันปลอม
- ทันตแพทย์ให้ครับปรึกษาคนไข้ซักถามประวัติเบื้องต้น หลังจากนั้นจะเริ่มการตรวจช่องปาก ถ่ายรูป X-rayพร้อมพิมพ์แบบจำลองช่องปากคนไข้เพื่อให้คนไข้ทราบถึงปัญหา ให้คนไข้ได้วางแผนการรักษาร่วมกับทันตแพทย์
- ทันตแพทย์ตรวจการเรียงตัวของฟันคนไข้ พร้อมเลือกสีที่ใกล้เคียงกับฟันเดิมมากที่สุดเริ่มทำฟันปลอมบนแบบจำลองนั้น ให้ได้ฟันที่เข้ารูปสวยงามเหมาะสมขนาดพอดีกับบริเวณช่องว่าง หรือ ปากของคนไข้ อีกทั้งต้องมีการสบฟันที่ถูกต้อง และเหมาะสมอีกด้วย
- ทันตแพทย์เริ่มใส่ฟันปลอมให้กับคนไข้ ระหว่างนั้นจะแก้ไขตำแหน่งกดเจ็บควบคู่ไปด้วย ในการทำฟันปลอมทันตแพทย์จะนัดพบกับคนไข้ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ทั้งนี้ระยะเวลาจะขึ้นอยู๋กับรูปแบบของฟันปลอมที่ทำขึ้น หลังจากใส่ฟันปลอมแล้วในช่วงเดือนแรก ทันตแพทย์อาจนัดพบคนไข้เพื่อเข้ามาติดตามปรับเปลี่ยนและตกแต่งฟันปลอม ให้พอดีกับช่องปากคนไข้มากที่สุด
การดูแลรักษาฟันปลอม
การดูแลรักษาฟันปลอมมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากเพียงเน้นเรื่องของความสะอาดเป็นหลักและถนอมการใช้งานฟันปลอมไม่เคี้ยวอาหารแข็งจนเกินไป โดยฟันปลอมแต่ละประเภทจะมีการดูแลที่แตกต่างกันดังนี้
การดูแลรักษาฟันปลอมแบบถอดได้
- คนไข้ไม่ควรรับประทานอาหาร ที่มีความแข็งจนเกินไป เพราะทำให้ฟันปลอมต้องทำงานหนักจากบริเวณที่นำไปบดเคี้ยว อาจส่งให้ฟันปลอมหลุดออกมาขณะเคี้ยวอาหารได้
- ระวังอย่าทำฟันปลอม ตกหรือหล่นพื้น เพราะอาจทำให้ส่วนประกอบของฟันปลอมบิดเบี้ยวหรือแตกหักได้
- หลังทานอาหารควรทำความสะอาดฟันปลอมทุกครั้งด้วยนำสะอาด อาจใช้แปรงสีฟันขนนุ่ม ทำความอาดฟันปลอมร่วมกับน้ำเปล่าด้วย ไม่ควรใช้ยาสีฟันทำความสะอาดฟันปลอม เพราะในยาสีฟันมีตัวยาที่ช่วยในการขัดฟันอาจจะทำให้ฟันปลอมผุกร่อนหรือสึกได้
- ใช้เม็ดฟู่ในการกำจัดเชื้อโรคบนฟันปลอมอาทิตย์ละ 1 ครั้งเพื่อสุขอนามัยที่ดี
- ก่อนนอนควรถอดฟันปลอมแช่ในน้ำไว้ เพื่อรักษาและคงสภาพให้สมบูรณ์ที่สุด การเก็บไว้ในที่แห้งจะทำให้ฟันปลอมสามารถบิดเบี้ยวได้ และอาจส่งผลให้การใส่ฟันปลอมไม่แนบสนิทกับเหงือกเท่าที่ควร
การดูแลรักษาฟันปลอมแบบติดแน่น
การดูแลรักษาเหมือนฟันธรรมชาติ โดยให้คนไข้แปรงฟันเน้นบริเวณคอฟัน เหงือก เพื่อให้เศษอาหารที่เราทานเข้าไปแล้วติดตามซอกฟันหลุด
สามารถใช้ไหมขัดฟันร่วมทำความสะอาดตามช่องว่างของซอกฟันได้ และคนไข้ต้องตรวจสอบสภาพฟันกับทันตแพทย์ตามนัดให้สม่ำเสมอ